เครือข่ายและคลื่นความถี่
บริษัท ฟีล เทเลคอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) บนโครงข่ายที่กว้างด้วยเสาสัญญาณกว่า 75,000 ต้น ครอบคลุมทั่วประเทศของผู้ให้บริการ MNO (Mobile Network Operator) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)ให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ LTE – FDD 2100MHz และให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ LTE – TDD 2300MHz รองรับความต้องการของ ผู้ใช้บริการทั่วประเทศ
การให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2300MHz ด้วยเทคโนโลยี 4G LTE-TDD บนแบนด์วิดท์ที่กว้างถึง 60 MHz (2310 – 2370 MHz) ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถรองรับความต้องการการใช้งานด้านดาต้า ที่ เร็ว แรง ส่งเสริมประสบการณ์ไปอีกขั้นของการใช้งานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโมบายดาต้า หรือการใช้งาน อุปกรณ์ IoT ต่างๆ ให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยี 4G LTE (4th Generation Long Term Evolution) มีหลักการทำงาน 2 แบบนั้นก็คือ LTE-FDD (Frequency Division Duplex) และ LTE-TDD (Time Division Duplex) ซึ่ง Feels ให้บริการทั้ง 2 รูปแบบ บนคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน รองรับการใช้งานที่หลากหลาย การทำงานของระบบ LTE-FDD จะแตกต่างจากการทำงาน แบบ LTE-TDD โดยหลักการของ LTE-FDD จะแบ่งการรับส่งคลื่น (Uplink -Downlink) ออกเป็นช่วงความถี่ทำให้ การรับส่งข้อมูลสามารถทำในเวลาเดียวกันได้ ส่วนการทำงานของ LTE-TDD จะแบ่งช่วงเวลาการรับส่งข้อมูลทำให้การทำงาน มีความยืดหยุ่นกว่าในยามที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก

คลื่นความถี่ 2300 MHz และเทคโนโลยี Time Division Duplex (TDD) จะถูกนำมาใช้งาน โดย TDD สามารถจัดการแบนด์วิดท์สำหรับการอัพลิงค์ และดาวน์ลิงค์บนแบนด์วิดท์เดียวได้พร้อมกันตลอดเวลา ความร่วมมือกันระหว่างดีแทคและทีโอทีครั้งนี้มีความสำคัญที่นำคลื่นความถี่กว้าง 60 MHz ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น”
TDD และ Massive MIMO คือเทคโนโลยีที่ปฏิวัติเพิ่มการรับและส่งดาต้าในแต่ละเสาสัญญาณได้มากกว่าเดิม นับเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ก้าวสู่ “5G-ready” โดยคลื่นใหม่ที่จะนำมาให้บริการจะมีความจุที่มากที่สุด และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคนี้
“สมาร์ทโฟนจำนวนมากกว่า 70% ที่รองรับ 4G ในขณะนี้ จะสามารถใช้งานบนคลื่นความถี่ 2300 MHz TDD ได้ อีกทั้ง ไม่เพียงแต่ผู้ใช้งานบนคลื่น 2300 MHz จะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น แต่ผู้ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนบนคลื่น 2100 MHz ยังจะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นอีกด้วย จากที่มีการเพิ่มคลื่นความถี่หรือ Off Load จากผู้ใช้งานบนระบบ TDD ทั้งนี้ ทำให้ลูกค้าดีแทคทุกคนจะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง”
นี่เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ไม่ใช่เฉพาะสำหรับทีโอทีและดีแทค แต่ยังสำคัญกับประเทศไทย 4.0 อีกด้วย ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ประเทศไทยต้องการในการก้าวเป็นผู้นำด้านดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังทำให้การบริการดิจิทัลของทีโอทีมีการเติบโตอย่างมั่นใจในระยะยาว นอกจากนั้น ยังเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงข่ายดีแทคในการให้บริการในประเทศ และช่วยให้คนไทยยกระดับการใช้งานดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุด
คลื่น 2300 MHZ จะช่วยให้คนเมืองใช้งานได้ดีขึ้น
ด้วยลักษณะของคลื่น 2300 MHz ไม่สามารถกระจายสัญญาณได้ไกลเหมือนคลื่นความถี่ต่ำ ทำให้การพัฒนาคุณภาพสัญญาณในพื้นที่ห่างไกลอาจจะทำได้ยาก หรือต้องลงทุนเป็นอย่างมากเพื่อให้สัญญาณมีความครอบคลุม ใครอยู่ในตัวเมืองที่มีการลงเสาสัญญาณก็น่าจะเห็นผลชัดเจน ความเร็วพุ่งปรี๊ด แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ห่างไกลคงต้องรอติดตามกันต่อไป